ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 055-041551 โทรสาร : 055-041552 อีเมล : nangpaya-sao@hotmail.co.th , saraban@nangpaya.go.th

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไป
ที่ตั้งและขนาด
  องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล 1 ใน 8 ของอำเภอท่าปลาได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ตั้งอยู่เลขที่ 77 หมู่ที่ 1 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าปลา ประมาณ 31 กิโลเมตร และศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ 71 กิโลเมตร
  องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอท่าปลา และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์  มีพื้นที่ 243.78 ตารางกิโลเมตร หรือ 152,362.5 ไร่ แบ่งการปกครองเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1บ้านน้ำพร้า หมู่ที่ 2 บ้านนาป่าคา หมู่ที่ 3 บ้านต้นแดง หมู่ที่ 4 บ้านห้วยต้า หมู่ที่ 5 บ้านห้วยพญา และหมู่ที่ 6  บ้านท่าเรือ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 2,689 คน แยกเป็นชาย 1,410 คน หญิง 1,279 จำนวนครัวเรือน 776 หลังคาเรือน  สภาพพื้นที่ของตำบลนางพญาส่วนมากเป็นที่ราบเชิงเขา
  องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญาเป็น 1 ใน 8 ของอำเภอท่าปลา ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539  และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ตั้งอยู่เลขที่ 77 หมู่ที่ 1 บ้านน้ำพร้า หมู่ที่ 1 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าปลา ประมาณ 31 กิโลเมตร และศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ 71 กิโลเมตร
  องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ          ติดต่อกับ  อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
ทิศใต้             ติดต่อกับ  ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ  เขตอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ ตำบลผาเลือด และตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ   ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ลักษณะภูมิประเทศ
  ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ส่วนมากเป็นที่ราบเชิงเขา ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยต้า และดอยต้นยาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของตำบลเขาพระยาบ่อ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตำบล ในหมู่บ้านมีลำห้วยไหลผ่าน ทุกหมู่บ้าน ได้แก่ ห้วยนางพญา อยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลนางพญา มีทิศทางการไหลจากทิศเหนือลงทิศใต้ ผ่านหมู่ที่ 5 บ้านห้วยพญา หมู่ที่ 2 บ้านนาป่าคา หมู่ที่ 3 บ้านต้นแดง หมู่ที่ 1 บ้านน้ำพร้า และไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ บริเวณหมู่ที่ 6 บ้านท่าเรือ นอกจากนี้มีห้วยต้า มีทิศทางการไหลจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านหมู่ที่ 4 บ้านห้วยต้า และไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

ลักษณะภูมิอากาศ
  ลักษณะภูมิอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง อากาศร้อน อุณหภูมิระหว่าง 37 – 39 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากช่วงในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจ เกิด “ฝนทิ้งช่วง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจทิ้งช่วงนานนับเดือนในช่วงเดือนกรกฎาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1 - 2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 15 องศาเซลเซียส
ลักษณะของดิน
  ลักษณะดินโดยทั่วไป เป็นดินร่วนปนทราย ประชาชนใช้เพาะปลูกข้าว ข้าวโพด ปลูกทุเรียน เงาะ ลองกอง  มังคุด กาแฟ
ลักษณะของน้ำ
  มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค – บริโภค ในหมู่บ้านมีลำห้วยไหลผ่านทุกหมู่บ้าน ได้แก่ ห้วยนางพญา และห้วยต้า นอกจากนี้ยังมีประปาภูเขาใช้ทุกหมู่บ้าน
ลักษณะของป่าไม้
  พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลนางพญา ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ ได้แก่ พื้นที่บริเวณทิศเหนือและทิศตะวันตกเกือบทั้งหมด

เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา แบ่งการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ดังต่อไปนี้


หมู่ที่

หมู่บ้าน / ชุมชน

กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน

1

บ้านน้ำพร้า

นายสมมิตร  พุทธิชัย

2

บ้านนาป่าคา

นายไถน จินดามืด

3

บ้านต้นแดง

นางสาวรอบ  อินยา

4

บ้านห้วยต้า

นายยงยุทธ์ สิงเต

5

บ้านห้วยพญา

นายจำเริญ  จินดามืด

6

บ้านท่าเรือ

นายจรูญ ธิมาศิลาเพชร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา มีประชากรทั้งสิ้น 2,697 คน (ข้อมูลจากฝ่ายทะเบียนราษฎร์อำเภอท่าปลา ณ เดือน พฤษภาคม 2567)

โดยแยกเป็น ดังนี้

หมู่ที่

หมู่บ้าน / ชุมชน

จำนวนครัวเรือน

ปี 2567

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านน้ำพร้า

117

183

184

367

2

บ้านนาป่าคา

98

167

169

336

3

บ้านต้นแดง

248

363

333

696

4

บ้านห้วยต้า

221

263

211

474

5

บ้านห้วยพญา

127

214

227

441

6

บ้านท่าเรือนางพญา

138

212

171

383

รวม

949

1,402

1,295

2,697


สภาพสังคม
การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา มีสถานศึกษา/แหล่งที่ให้ความรู้กับเด็กนักเรียน และประชาชนในพื้นที่ ดังนี้    
1.โรงเรียนประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน  2  แห่ง 
- โรงเรียนน้ำพร้าสามัคคี           
- โรงเรียนบ้านห้วยต้าวิทยา       
2. การศึกษานอกระบบ  จำนวน 1 แห่ง 
- กศน.ตำบลนางพญา              
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน 2 แห่ง 
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำพร้า
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยต้า

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
ประเพณีตานก๋วยสลาก   เป็นประเพณีที่สำคัญที่ชุมชนร่วมกันกับวัด จัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยการจัดของกินใส่ชะลอมเล็ก เรียก ก๋วยน้อย ของใช้และของกินใส่ชลอมใหญ่ขนาดพออุ้มได้ เรียก ก๋วยอุ้ม แต่ละชะลอมจะมีใบลาน 1 ใบ (ใบสลาก เขียนถึงชื่อผู้อุทิศ ผู้รับส่วนกุศลและจำนวนชะลอม ผู้ที่อุทิศ ผู้ที่อุทิศส่วนกุศลนำใบลานมารวมกัน พระสงฆ์ทำพิธี พุทธศาสนิกชนนำสลากให้ผู้อุทิศฟัง คนอ่านข้อความ ในใบลานจะแลกใบลานที่อ่านเสร็จ กับชะลอมเล็ก ชะลอมใหญ่ พระสงฆ์เป็นผู้อ่านข้อความในใบลานและกรวดน้ำให้ผู้รับส่วนกุศล ตามชื่อที่ระบุในใบลาน
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณีนี้ทำช่วงสงกรานต์ของทุกปี โดยการเชิญผู้สูงอายุในหมู่บ้าน มารวมกันแล้วให้ลูกหลานนำน้ำอบ น้ำหอมมาล้างมือล้างเท้าให้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุ และเป็นการให้พรกับลูกๆหลานๆ ของผู้สูงอายุด้วย
ประเพณีบวงสรวงปู่อาชญา ประเพณีบวงสรวงปู่อาชญา จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือ ออก 13 ค่ำ เดือน 3 เหนือ และออกสามค่ำ เดือน 9 เหนือ ของทุกปี เป็นประเพณีที่คนส่วนใหญ่ในตำบลที่มีลูกหลานไปประกอบอาชีพต่างถิ่น เช่น ไปเป็นทหารเกณฑ์ ไปศึกษาต่อ คนที่อยู่ที่บ้านก็จะไปบนไว้ เมื่อครบรอบปีถึงวันดังกล่าวไม่มีใครได้รับอันตรายใดๆ ชาวบ้านก็มารวมตัวกันเพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ (แก้บน) เจ้าปู่อาชญา
ประเพณีสะเดาะเคราะห์หมู่บ้าน ทำช่วงหลังสงกรานต์ โดยโยงสายสิญจน์ตั้งแต่หัวบ้านจนถึงท้ายบ้านและรอบหลังคาเรือนทุกหลังคาเรือน โดยมีความเชื่อว่า เป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้ายและให้ชาวบ้านประสบโชคดีมีสุข เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จากนั้นก็จะมีการทำบุญตักบาตร พระสงค์รดน้ำมนต์ และชาวบ้านร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน
ประเพณีทำขวัญข้าว ประเพณีนี้ในหนึ่งปีจะมีการทำขวัญข้าว 3 ครั้ง คือ เวลาปลูกข้าวเสร็จข้าวเจริญงอกงามดี เวลาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ และเวลาวันสงกรานต์พิธีทำขวัญข้าว จะมีบายสี 3 ยอดหมากพลู กล้วยสุก น้ำอ้อย ข้าวสุก ธูป เทียน ใบเกล็ดหลิ่น ใบค้ำคูณ ใบขนุน จุดประสงค์ในการทำขวัญข้าวคือเป็นการเคารพต่อพระแม่โพสพ ที่ให้ข้าวให้น้ำแก่มนุษย์


บริการพื้นฐาน
สาธารณสุข
-  องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา มีหน่วยพยาบาลที่ให้บริการประชาชนในเรื่องของการรักษาพยาบาลในพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางพญา
- มีบุคลากร จำนวน 3 อัตรา  จำนวนเตียงผู้ป่วย 2 เตียง
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยต้า
- มีบุคลากร จำนวน 2 อัตรา  จำนวนเตียงผู้ป่วย 2 เตียง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา มีที่พักสายตรวจ จำนวน 1 แห่ง ที่บ้านน้ำพร้า หมู่ที่ 1

ผลิตภัณฑ์
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ประกอบอาชีพหลายอาชีพ เช่น รับจ้างทั่วไป ทำการเกษตร ทำงานประจำฯลฯ
- ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป            ประมาณ  11 %
- ประกอบอาชีพเกษตรกรรม        ประมาณ  69 %
- ทำงานประจำ                       ประมาณ    5 %
- ไม่มีงานทำและกำลังเรียน เด็ก และผู้สูงอายุ  ประมาณ  15%

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

number of website visitors
วันนี้
391
คน
สัปดาห์นี้
1265
คน
เดือนนี้
7239
คน
ปีนี้
7239
คน
ทั้งหมด
8962
คน